Apple Watch Series 4




Review Apple Wacth Series 3 Cellular Cover
เปิดขายออนไลน์เมื่อ 27 มีนาคม 2561 ในประเทศไทย  และวันนี้ (5 เมษายน 2561) เป็นวันแรกกับ Apple Watch Series 3 รุ่น GPS + Cellular ที่สามารถใช้งานร่วมกับ eSIM ของเครือข่ายมือถือได้แล้ว ทีมงาน iMod เกาะติดสถานการณ์และได้เครื่องมาแล้วจึงอยากทำรีวิวนี้เอาไว้ให้ชมกันครับ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจสำหรับใครหลายๆ คนว่า “จะซื้อรุ่น GPS ธรรมดาหรือว่ารุ่นที่มี Cellular ดี?” เราไปชมรีวิวนี้พร้อมๆ กันครับ

Apple Watch




วิธีการใช้ Apple Watch ของคุณโดยไม่ต้องมี iPhone อยู่ใกล้ๆ

ดูว่าคุณสามารถใช้ Apple Watch ทำอะไรได้บ้างหากคุณไม่มี iPhone ของคุณอยู่กับตัว 
ศูนย์ควบคุมบน Apple Watch ที่แสดงการเชื่อมต่อเซลลูลาร์

หากคุณตั้งค่าเซลลูลาร์

หากทั้ง iPhone และ Apple Watch Series 4 (GPS + Cellular) หรือ Apple Watch Series 3 (GPS + Cellular) เชื่อมต่อกับเครือข่ายเซลลูลาร์ นาฬิกาของคุณจะสามารถใช้งานทุกอย่างได้ตามปกติ ถึงแม้ว่าเครื่อง iPhone จะไม่ได้อยู่กับคุณ1 เมื่อนาฬิกาของคุณเชื่อมต่อกับเครือข่ายเซลลูลาร์ ไอคอนจุดสีเขียว จะปรากฏขึ้นในศูนย์ควบคุม   
หากนาฬิกาของคุณเชื่อมต่อกับเครือข่ายเซลลูลาร์ แต่ไม่ได้อยู่ใกล้กับ iPhone นาฬิกาจะสามารถใช้งานได้เหมือนกับตอนที่ใช้

ตรรกศาสตร์ เรื่องการหาค่าความจริงของประพจน์


การหาค่าความจริงของประพจน์

การหาค่าความจริงของประพจน์
                      ตารางค่าความจริงของประพจน์ที่มีตัวเชื่อมแบบต่างๆที่กล่าวมาแล้ว มี
แล้วไว้เพื่อช่วยในการหาว่าประพจน์ใดเป็นจริงหรือเท็จ ดังในตัวอย่างต่อไปนี้
       ตัวอย่างที่1  จงหาค่าความจริงของประโยคต่อไปนี้      “เชียงใหม่และธนบุรีเคยเป็นเมืองหลวงของไทย”    
    วิธีทำ ให้ p  แทน เชียงใหม่เคยเป็นเมืองหลวงของไทย    ให้ q  แทน ธนบุรีเคยเป็นเมืองหลวงของไทย
                  ประโยคที่กำหนดให้อยู่ในรูป p Λ qเนื่องจาก p เป็นเท็จ และ q เป็นจริง จะได้ p Λq เป็นเท็จ
                 ดังนั้น ประโยค “เชียงใหม่และธนบุรีเคยเป็นเมืองหลวงของไทย” มีค่าความจริงเป็นเท็จ 
        ตัวอย่างที่2  กำหนดให้ a , b และ c เป็นประพจน์ที่มีค่าความจริงเป็น จริง จริง และเท็จ ตามลำดับ จงหา 
                                        (a Λ b) v c   
             วิธีทำ จาก a เป็นจริง b เป็นจริง จะได้ a Λ b เป็นจริง
                    จาก a Λ b เป็นจริง c เป็นเท็จ จะได้ (a Λ b) v c เป็นจริง

ตรรกศาสตร์เบื้องต้น ม.4


ตรรกศาสตร์ หมายถึง

   ตรรกศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์และเหตุผล การได้มาของผลภายใต้กฎเกณฑ์ที่กำหนดถือเป็นสาระสำคัญ  ข้อความหรือการให้เหตุผลในชีวิตประจำวันสามารถสร้างเป็นรูปแบบที่ชัดเจนจน ใช้ประโยชน์ในการสรุปความ  ความสมเหตุสมผลเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง ตรรกศาสตร์เป็นแม่บทของคณิตศาสตร์แขนงต่าง ๆ และการประยุกต์

ประพจน์ (Propositions/Statement)

สิ่งแรกที่ต้องรู้จักในเรื่องตรรกศาสตร์คือ ประพจน์ ข้อความหรือประโยคที่มีค่าความจริง(T)หรือเท็จ(F) อย่างใดอย่างหนึ่ง ส่วนข้อความรูป คำสั่ง คำขอร้อง คำอุทาน คำปฏิเสธ ซึ่งไม่อยู่ในรูปของประโยคบอกเล่า จะเป็นข้อความที่ไม่เป็นประพจน์ สำหรับข้อความบอกเล่าแต่มีตัวแปรอยู่ด้วย ไม่สามารถบอกว่าเป็นจริงหรือเท็จจะไม่เป็นประพจน์ เรียกว่าประโยคเปิด
  ประโยคที่มีค่าความจริงไม่แน่นอน  หรือไม่อาจระบุได้ว่ามีค่าความจริงเป็นจริงหรือเป็นเท็จได้ ไม่เป็นประพจน์

การเชื่อมประพจน์

โดยปกติเมื่อกล่าวถึงข้อความหรือประโยคนั้นมักจะมีกริยามากกว่าหนึ่งตัว แสดงว่าได้นำประโยคมาเชื่อมกัน มากกว่าหนึ่งประโยค ดังนั้นถ้านำประพจน์มาเชื่อมกัน ก็จะได้ประพจน์ใหม่ ซึ่งสามารถบอกได้ว่าเป็นจริงหรือเป็นเท็จ ตัวเชื่อมประพจน์มีอยู่ 5 ตัว และตัวเชื่อมที่ใช้กันมากในตรรกศาสตร์คือ และ หรือถ้า…แล้ว ก็ต่อเมื่อ  ไม่
  1. ตัวเชื่อมประพจน์ “และ”
    การเชื่อม p และ q เข้าด้วยกันด้วยตัวเชื่อมประพจน์ “และ” สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ p ∧ q ซึ่งจะมีค่าความจริงเป็นจริง (T) เมื่อ p และ q มีค่าความจริงเป็นจริง (T) ทั้งคู่ นอกนั้นมีค่าความจริงเป็นเท็จ (F)
  2. ตัวเชื่อมประพจน์ “หรือ”
    การเชื่อม p และ q เข้าด้วยกันด้วยตัวเชื่อมประพจน์ “หรือ” สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ p ∨q ซึ่งจะมีค่าความจริงเป็นเท็จ (F) เมื่อ p และ q มีค่าความจริงเป็นเท็จ (F) ทั้งคู่ นอกนั้นมีค่าความจริงเป็นจริง (T)
  3. ตัวเชื่อมประพจน์ “ถ้า…แล้ว”
    การเชื่อม p และ q เข้าด้วยกันด้วยตัวเชื่อมประพจน์ “ถ้า…แล้ว” สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ p → q ซึ่งจะมีค่าความจริงเป็นเท็จ (F) เมื่อ p เป็นจริง (T) และ q เป็นเท็จ (F) นอกนั้นมีค่าความจริงเป็นจริง (T)
  4. ตัวเชื่อมประพจน์ “ก็ต่อเมื่อ”
    การเชื่อม p และ q เข้าด้วยกันด้วยตัวเชื่อมประพจน์ “ก็ต่อเมื่อ” สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ p ⇔ q ซึ่งจะมีค่าความจริงเป็นจริง (T) เมื่อ p และ q มีค่าความจริงตรงกัน และจะมีค่าความจริงเป็นเท็จ (F) เมื่อ p และ q มีค่าความจริงตรงข้ามกัน
  5. นิเสธของประพจน์ “ไม่”
    นิเสธของประพจน์ใดๆ คือ ประพจน์ที่มีค่าความจริงตรงกันข้ามกับประพจน์นั้นๆ และสามารถเขียนแทนนิเสธของ p ได้ด้วย ~p